เราสู้! เพื่อประกันการว่างงาน

การปฏิวัติครั้งที่ 3
SHARE

ผ้าโพกศีรษะรณรงค์เรื่องประกันการว่างงาน ขบวนการแรงงานหลายกลุ่มพยายามเรียกร้องสิทธิว่างงานมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ. 2540 แต่เมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจจนทำให้แรงงานถูกเลิกจ้างจำนวนมาก ทำให้กระแสการเรียกร้องยิ่งเข้มข้นขึ้น โดยเฉพาะกระแสจากแรงงานสิ่งทอ สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอฯ ได้เริ่มจัดสัมมนาเผยแพร่ความรู้ความสำคัญประกันสังคมด้านการว่างงาน ตั้งแต่เดือนแรกของปี 2540 รวมทั้งมีการจัดงานร่วมเสนอข้อมูล ข้อคิดเห็นแลกเปลี่ยนในสมาชิกสหภาพกับประชาชนทั่วไปเพื่อเตรียมพร้อมทางความคิดตลอดทั้งปี แม้ว่าในช่วงวิกฤติ สำนักงานประกันสังคมจะลดอัตราเงินสมทบจากอัตรา 1.5 ของค่าจ้างให้เหลือ 1% ตลอดระยะเวลาตั้งแต่ปี พ.ศ.2541-2543 ก็ตาม แต่ลูกจ้างหลายกลุ่มมองว่า คนตกงานจำนวนมากยังขาดหลักประกันสังคมที่รองรับอย่างเป็นธรรมและเพียงพอ ควรคิดการขยายสิทธิประโยชน์ไปช่วยคนงานที่ถูกเลิกจ้างให้ได้รับสวัสดิการจากกองทุนฯมากขึ้นแทนการลดเงินสมทบ

จนกระทั่งในวันที่ 27 กันยายน 2544 คณะกรรมการประกันสังคม ได้มีมติให้ความเห็นชอบเงื่อนไขและหลักเกณฑ์การดำเนินงานประกันสังคม กรณีการว่างงาน ตามที่คณะอนุกรรมการเตรียมการประกันสังคมกรณีการว่างงานเสนอ แม้รัฐบาล โดยกระทรวงแรงงานจะพยายามหลีกเลี่ยงและยืดระยะเวลาในการบังคับใช้กรณีการว่างงานออกไปด้วยเหตุผลต่าง ๆ ก็ตาม ภายหลังจึงมีการประกาศใช้ โดยเริ่มเก็บเงินสมทบตั้งแต่ 1 ม.ค. 2547 และเริ่มจ่ายประโยชน์ทดแทน 1 ก.ค. 2547 โดยรัฐบาลไทยรักไทย และต่อเนื่องไปจนถึงสมัยพรรคชาติพัฒนาเป็น รมว. ได้ประกาศใช้ แม้ในช่วงแรกจะประสบปัญหาด้านเทคนิค อาทิ ความล่าช้าของระบบประกันสังคม เนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วประเทศมีอยู่เพียง 85 เครื่องเท่านั้น โดยแบ่งเฉลี่ยจังหวะละ 1 เครื่อง ยกเว้นจังหวัดที่มีผู้ประกันตนจำนวนมากจะได้รับ 2 เครื่อง ทำให้ต้องใช้เวลาในการกรอกเข้าระบบ รวมถึงอาการแฮงค์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ทำงานหนักทั้งวันจนกระทั่งไม่สามารถทำงานต่อได้ แต่ภายหลังมีการปรับปรุงแก้ไขจนสามารถใช้งานได้ดีขึ้นตามลำดับ


อ้างอิง

  • นริศสา สุขสนั่น. เริ่มจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน. กรุงเทพฯ: แรงงานปริทัศน์.
  • บัณฑิตย์ ธนชัยเศรษฐวุฒิ. ขบวนการสหภาพแรงงานไทยจาก รสช. ถึงยุค IMF. กรุงเทพฯ: มูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน, 2542. 

ทุก “เสียง” มีความหมาย

เราทุกคนคือ “แรงงาน” ที่มีชีวิต ร่วมแชร์ประสบการณ์การทำงานที่คุณมี บางทีอาจมีหลายคนที่เจอประสบการณ์เดียวกัน

พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย

503/20 นิคมมักกะสัน ถนนมักกะสัน แขวง มักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400

วันเวลาทำการ

เปิดบริการทุกวันพุธ - อาทิตย์

เวลา 10:00 - 16:30 น​.

ช่องทางการติดต่อ

Tel : 02-251-3173

Email : tlm.thailabourmuseum@gmail.com

©2024 DEV.THAILABOURMUSEUM.ORG. ALL RIGHTS RESERVED.