ในยุครัฐบาลจอมพล ป. หนังสือพิมพ์สุวรรณภูมิ ฉบับวันเสาร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ.2484 พาดหัวข่าวประเด็นร่างพระราชบัญญัติสงวนอาชีพและวิชาชีพ พ.ศ.2484 ผ่านสภาผู้แทนราษฎร และจะถูกประกาศใช้ในเร็ววัน โดยเริ่มจากการสงวนการอาชีพทางผมให้แก่คนสัญชาติไทยเท่านั้น (ตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ)
ไม่กี่เดือนต่อมา วันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2485 รัฐบาลไทยได้ประกาศสงครามกับอังกฤษและอเมริกาอันเป็นการนำประเทศไทยเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สองอย่างเต็มตัว ประเทศไทยตกเป็นเป้าโจมตีทางอากาศโดยฝ่ายสัมพันธมิตร ปีเดียวกันนั้นได้เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ เหตุการณ์ทั้งสองนี้ได้ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรงและเกิดการขาดแคลนสินค้า อาหาร กิจการธุรกิจของฝ่ายสัมพันธ์มิตรถูกยึดครอง มีผู้คนจำนวนมากต้องตกงาน รัฐทำการแก้ปัญหาโดยการประกาศสงวนอาชีพบางอย่างไว้ให้กับคนไทยอย่างจริงจัง ทั้งยังหันมาลงทุนในอุตสาหกรรมหลายประเภทเช่นโรงงานผลิตกระดาษ โรงงานผลิตเสื้อผ้า โรงงานผลิตกระสอบ ฯลฯ ซึ่งจำเป็นต้องใช้แรงงานจำนวนมาก ทำให้มีการอพยพแรงงานจากชนบทเข้าสู่เมืองมากขึ้น
การใช้ประเทศไทยเป็นฐานทัพในการบุกเข้าสู่ดินแดนอาณานิคมของอังกฤษโดยญี่ปุ่น ได้ก่อให้เกิดความต้องการใช้แรงงานจำนวนมาก ญี่ปุ่นได้พยายามบีบให้รัฐบาลควบคุมค่าจ้างแรงงานไว้ โดยเสนอให้มีการออกเป็นกฎหมายกำหนดค่าจ้างขั้นสูงไว้ ซึ่งรัฐบาลไทยไม่เห็นด้วยเพราะถือเป็นการริดรอนสิทธิเสรีภาพของคนงาน ตรงกันข้ามกลับกลายเป็นตัวกระตุ้นให้รัฐบาล หันมาทำการสำรวจสภาพความเป็นอยู่ของคนงานอย่างแท้จริงว่าค่าจ้างขั้นต่ำที่จะทำให้พวกเขาดำรงชีวิตอยู่ได้ควรเป็นเท่าไร ซึ่งถือเป็นการสำรวจค่าครองครองชีพของคนงานเป็นการใหญ่ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย
การที่บ้านเมืองตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของรัฐบาลทหารและการครอบครองของกองทัพญี่ปุ่นทำให้เสรีภาพของคนงานถูกลิดรอน กรรมกรส่วนหนึ่งได้รวมตัวกันเคลื่อนไหวเป็นขบวนการใต้ดิน ทำงานร่วมกับขบวนการเสรีไทยและขบวนการคอมมิวนิสต์เพื่อคัดค้านรัฐบาลจอมพล ป. และกองทัพญี่ปุ่น
เราทุกคนคือ “แรงงาน” ที่มีชีวิต ร่วมแชร์ประสบการณ์การทำงานที่คุณมี บางทีอาจมีหลายคนที่เจอประสบการณ์เดียวกัน
พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย
503/20 นิคมมักกะสัน ถนนมักกะสัน แขวง มักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
วันเวลาทำการ
เปิดบริการทุกวันพุธ - อาทิตย์
เวลา 10:00 - 16:30 น.