นักศึกษาฝึกงาน แรงงานรุ่นใหม่ที่ไร้กฎหมายคุ้มครอง

การปฏิวัติครั้งที่ 4
SHARE

การฝึกงาน มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาทักษะของแรงงานรุ่นใหม่ก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน ทว่าในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นนักเรียนอาชีวะ หรือนักศึกษาฝึกงานตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัย กลับไม่ได้รับการคุ้มครองทางกฎหมายที่มีการตั้งข้อกำหนดของการฝึกงานที่แน่ชัด จนไปถึงการนิยามคำว่า “ผู้ฝึกงาน” ที่ส่งผลให้เกิดช่องว่างที่นายจ้างใช้ประโยชน์จากผู้ฝึกงานเป็นแรงงานราคาถูกนอกกฎหมาย โดยที่กฎหมายแรงงานไม่สามารถคุ้มครอง และเกิดปัญหาการฝึกงานที่ไม่มีประสิทธิภาพทำให้แรงงานขาดทักษะที่ควรได้รับจากการฝึกงาน ทำให้เกิดปัญหาการว่างงานในกลุ่มแรงงานจบใหม่เนื่องจากไม่สามารถแข่งขันในตลาดแรงงานได้ ปัญหานี้ก่อตัวเรื้อรังมาเป็นระยะเวลานานจนกระทั่งเกิดวิกฤตเศรษฐกิจจากพิษของโควิด-19 ที่มีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการจ้างงาน ประเทศไทยจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องยกระดับการฝึกงาน เพื่อคุ้มครองผู้ฝึกงาน พัฒนาทักษะแรงงานจบใหม่ ลดความเหลื่อมล้ำของผู้ฝึกงาน และลดอัตราการว่างงานของแรงงานจบใหม่ภายในประเทศ 

จึงมีการศึกษานโยบายตัวอย่างของต่างประเทศ และรวบรวมข้อเสนอเพื่อนำมาผลักดันในสังคมร่วมกับภาคประชาสังคมกลุ่มต่าง ๆ ร่วมกัน ผ่าน 6 ข้อเสนอ ได้แก่ 1) จัดทำพระราชบัญญัติการฝึกงานให้ครอบคลุม 12 ประการ 2) นายจ้างจะต้องทำประกันคุ้มครองให้แก่ผู้ฝึกงาน 3) ผู้ฝึกงานสามารถเข้าร่วมสหภาพแรงงานได้ 4) จัดให้มีการลงทะเบียนสถานประกอบการที่สามารถเปิดรับผู้ฝึกงาน เพื่อให้มีคุณภาพและตรวจสอบการฝึกงานให้เป็นไปตามมาตรฐานตลอดกระบวนการฝึกงานได้ 5) จัดให้มีการจัดสอบวัดผลหลังจบการฝึกงาน เพื่อเป็นการประเมินคุณภาพของผู้ฝึกงานและสถานประกอบการ 6) รัฐช่วยเหลือค่าใช้จ่ายโครงการค่าจ้างผู้ฝึกงานคนละครึ่งกับสถานประกอบการ ในอัตราส่วนละ 50% ทั้งนี้หน่วยงานของภาครัฐที่จำเป็นต้องเข้ามามีบทบาทเกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงแรงงาน กระทรวงการอุดมศึกษาฯ และกระทรวงการคลัง

ทั้งนี้ ข้อเสนอการยกระดับการฝึกงานในประเทศไทยชุดนี้ ได้ถูกเสนอผ่านคณะอนุกรรมาธิการด้านการสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานรัฐสภา เมื่อเดือนมีนาคม 2564 และกำลังอยู่ในกระบวนการผลักดันผ่านภาคประชาสังคม โดยคณะก้าวหน้าแรงงาน และศูนย์วิจัยรัฐสวัสดิการและความเป็นธรรมศึกษา ร่วมกับกลุ่มสมัชชา Intern และสภานักศึกษามหาวิทยาลัยต่าง ๆ โดยมีเป้าหมายร่วมกัน คือ ให้องค์กรภาครัฐและเอกชนรับข้อเสนอนี้เข้าปรับใช้ในองค์กรเพื่อเป็นแบบอย่างของการสร้างมาตรฐานให้กับการฝึกงาน พร้อมทั้งยกระดับด้วยการจัดเสวนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากข้อเสนอชุดนี้ โดยล่าสุดจะมีการจัดเสวนาร่วมกับสถานทูตสวีเดน ในหัวข้อสิทธิมนุษยชนในโลกของการทำงาน และการฝึกงานในประเทศสวีเดน วันที่ 10 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา

ทุก “เสียง” มีความหมาย

เราทุกคนคือ “แรงงาน” ที่มีชีวิต ร่วมแชร์ประสบการณ์การทำงานที่คุณมี บางทีอาจมีหลายคนที่เจอประสบการณ์เดียวกัน

พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย

503/20 นิคมมักกะสัน ถนนมักกะสัน แขวง มักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400

วันเวลาทำการ

เปิดบริการทุกวันพุธ - อาทิตย์

เวลา 10:00 - 16:30 น​.

ช่องทางการติดต่อ

Tel : 02-251-3173

Email : tlm.thailabourmuseum@gmail.com

©2024 DEV.THAILABOURMUSEUM.ORG. ALL RIGHTS RESERVED.