ใครคือ “แรงงาน”

หยาดเหงื่อคือแรงงาน มันสมองคือแรงงาน ความสามารถคือแรงงาน

“ทุกเสียงของแรงงานจึงล้วนมีความหมายเพราะทุกคนคือแรงงาน”

Finding Our Labour’s Stories

ร่วมค้นหาเรื่องราวของพวกเราทุกคนผ่านวัตถุจัดแสดงกว่า40 ชิ้นจากพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย

ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การเดินทางต่อสู้เรียกร้องของ “แรงงาน” ในประเทศไทยไม่เคยได้มาอย่างง่ายดาย ร่องรอย เรื่องราวของผู้ถูกกดขี่ทั้งหลายถูกบันทึกผ่านตัวอักษร เสียงเพลง และข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ส่งต่อถึงกันโดยไม่มีผู้หนึ่งผู้ใดเป็นเจ้าของการเดินทางนั้น เรื่องราวของแรงงานไทยจึงมิใช่เพียงข้อมูลทางประวัติศาสตร์ แต่เป็นเรื่องราวชีวิตของผู้คนจำนวนมากที่มีเลือดเนื้อ มีชีวิตดำรงอยู่

Finding Our Labour’s Stories จึงเกิดขึ้นเพื่อเป็นหนึ่งพื้นที่สำหรับการเก็บรวบรวม “เรื่องราวแรงงาน” โดยไม่จำกัดเพียงเฉพาะวัตถุ หรือเอกสารทางประวัติศาสตร์ในพิพิธภัณฑ์ แต่เป็นชีวิตของผู้คน ทุกวิชาชีพ ทุกวัย ทุกยุคสมัยที่ผ่านความทุกข์ยาก หรือการต่อสู้เพื่อสิ่งที่เป็นธรรมและยกระดับคุณภาพชีวิต

เราหวังว่าพื้นที่นี้จะช่วยเก็บทุกเรื่องราวและส่งต่อให้กับทุกคนเพราะเราเชื่อว่า “ทุกคนคือแรงงาน” และ “เราทุกคนล้วนเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์”

ของบางสิ่งที่คุณอาจ “ไม่เคยเห็น”

สมุดบันทึก เอกสาร ใบประกาศ และข้าวของต่าง ๆ ที่ผ่านช่วงเวลาการต่อสู้ ทั้งแพ้ ชนะ และสูญหาย เพียงหวังจินตนาการสังคมใหม่ที่ดีขึ้นตามกาลเวลาแต่ละยุคสมัยถูกเก็บรวบรวมใหม่อีกครั้ง และเปิดให้ทุกคนเข้าชมได้ใน Online Collection

หลายครั้งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม ไม่ใด้สะท้อน แค่ปัญหาการขาดคุณภาพชีวิตที่ดี แต่สะท้อนถึงการ สูญเสียหยาดเหงื่อ เลือดเนื้อ และชีวิต ของคน ทำงานอย่างที่ไม่ควรจะเกิดขึ้น ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ราวกับ เป็นมรดกตกทอดจากรุ่นสู่รุ่นไม่จางหายไปจากสังคม ความทรงจำของเหตุการณ์ต่าง ๆ เหล่านั้น ได้ถูกบอกเล่าผ่านข้าวของที่ถูกเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย

เหตุการณ์บางอย่างที่คุณ “ไม่เคยรู้”

  • 01

    เทียนวรรณ

  • 02

    หนังสือทรัพยศาสตร์

  • 03

    จดหมาย ร.5 ถึงกรมพระยาดำรงฯ เรื่องเลิกทาส

คุณเคยได้ยิน “เสียง” พวกเขาบ้างไหม?

เรื่องราวของ “แรงงาน” ในประเทศไทยจึงไม่ใช่แค่เพียงข้อมูลทางประวัติศาสตร์ แต่เป็นเรื่องราวชีวิตของผู้คนจำนวนมากที่มี

เลือดเนื้อมีชีวิตดำรงอยู่ และต่อสู้เพียงเพื่อให้ได้รับในสิ่งที่เป็นธรรมในชีวิต สังคม และประเทศชาติ

ทุก “เสียง” มีความหมาย

เราทุกคนคือ “แรงงาน” ที่มีชีวิต ร่วมแชร์ประสบการณ์การทำงานที่คุณมี

บางทีอาจมีหลายคนที่เจอประสบการณ์เดียวกัน

พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย

503/20 นิคมมักกะสัน ถนนมักกะสัน แขวง มักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400

วันเวลาทำการ

เปิดบริการทุกวันพุธ - อาทิตย์

เวลา 10:00 - 16:30 น​.

ช่องทางการติดต่อ

Tel : 02-251-3173

Email : tlm.thailabourmuseum@gmail.com

©2024 DEV.THAILABOURMUSEUM.ORG. ALL RIGHTS RESERVED.