หนังสือพิมพ์กรรมกร

การปฏิวัติครั้งที่ 2
SHARE

“…ด้วยเห็นทุกข์แก่เพื่อนกันเช่นนี้พวกเราซึ่งเป็นคนงานจึงได้รวบรวมเงินเล็กน้อยที่เข้าใจว่าเหลือจากนายจ้างอุบาทว์ได้รีดเอาไปโดยมิชอบธรรมคิดจัดตั้งหนังสือพิมพ์ขึ้น โดยขนานนามหนังสือพิมพ์นี้ว่า ‘หนังสือพิมพ์กรรมกร’ ด้วยความมุ่งใจเป็นส่วนใหญ่คือหวังจะประหารสภาพแห่งการเป็นทาษซึ่งเป็นฉายาแฝงอยู่ในตัวคนงานฤาลูกจ้างให้ปลาศไปและให้อิศรภาพเข้ามาแทนที่

ถวัติฤทธิเดชคำนำของหนังสือพิมพ์กรรมกร27 มกราคม 2465

หนังสือพิมพ์กรรมกร (พ.ศ. 2465-2467) นับเป็นหนังสือพิมพ์ที่มีบทบาทต่อสมาคมคนงาน และสร้างสำนึกทางการเมืองของแรงงานเป็นอย่างยิ่ง ผ่านปัญญาชนเสรีนิยมที่เรียกตนเองว่า “คณะกรรมกร” หรือคณะกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ ประกอบไปด้วย ถวัติ ฤทธิเดช, สุ่น กิจจำนงค์, ร.ต.ต.วาศ สุนทรจามร, ถวัลย์ ชาติอาษา และขุนสมาหาร หิตะคดี (โประ โปรคุปต์) 

คณะกรรมกรได้กลายเป็นกลุ่มที่มีบทบาททางความคิดและการเมืองแก่ขบวนการแรงงานในขณะนั้น ซ้ำยังเผยแพร่ความรู้ด้านสิทธิแรงงาน ปลูกฝังความคิดทางการเมืองและประชาธิปไตยแก่คนงาน รวมถึงการมีบทบาทในการจัดตั้งกรรมกรรถรางขึ้น ซึ่งกลายไปเป็นฐานสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 และเหตุการณ์กบฏบวรเดช ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง คณะกรรมกร เริ่มมีบทบาทมากยิ่งขึ้นในการผลักดันให้เกิดการรวมตัวเป็นสมาคมคนงานอาชีพต่าง ๆ ตลอดจนการนัดหยุดงานเพื่อเรียกร้องให้มีการปรับปรุงค่าจ้างและสวัสดิการต่าง ๆ (สังศิต พิริยะรังสรรค์, 2529)


อ้างอิง

  • สังศิต พิริยะรังสรรค์. ประวัติการต่อสู้ของกรรมกรไทย. กรุงเทพฯ: โครงการหนังสือเล่ม สถาบันวิจัยสังคมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529

ทุก “เสียง” มีความหมาย

เราทุกคนคือ “แรงงาน” ที่มีชีวิต ร่วมแชร์ประสบการณ์การทำงานที่คุณมี บางทีอาจมีหลายคนที่เจอประสบการณ์เดียวกัน

พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย

503/20 นิคมมักกะสัน ถนนมักกะสัน แขวง มักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400

วันเวลาทำการ

เปิดบริการทุกวันพุธ - อาทิตย์

เวลา 10:00 - 16:30 น​.

ช่องทางการติดต่อ

Tel : 02-251-3173

Email : tlm.thailabourmuseum@gmail.com

©2024 DEV.THAILABOURMUSEUM.ORG. ALL RIGHTS RESERVED.