กฎหมายขายชาติ 11 ฉบับ

การปฏิวัติครั้งที่ 4
SHARE

ทศวรรษที่ 1980 กระแสโลกาภิวัตน์เสรีนิยมใหม่ได้แพร่กระจายไปในขอบเขตทั่วโลก ได้ทำให้เกิดนโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจในทุกแห่งหนทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย แม้เดิมทีแนวคิดทางเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมจะท้าทายต่อการดำรงอยู่ของกิจการรัฐวิสาหกิจไทยทุกยุคสมัยก็ตาม ภายหลังจากที่ประเทศไทยต้องประสบกับวิกฤติการณ์เศรษฐกิจในปี 2540 ทำให้จำต้องกู้เงินและขอความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF และธนาคารโลก ที่ตั้งเงื่อนไขให้ไทยต้องแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ส่งผลให้รัฐวิสาหกิจหลายแห่งต้องถูกขายให้แก่เอกชนไป ทำให้มีการลุกขึ้นคัดค้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจทั้งโดยพนักงานรัฐวิสาหกิจเอง และประชาชนทั่วไป มีการใช้ผ้าแดงคาดศรีษะ หมวก รวมถึงผ้าแดงพันคอที่สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ทำขึ้น เพื่อใช้เป็นกระบอกเสียงคัดค้านการตรากฎหมาย  11 ฉบับ หรือที่เรียกกันว่า กฎหมายขายชาติ

การเคลื่อนไหวเพื่อยกเลิกกฎหมายขายชาติ ที่มีกฎหมายขายรัฐวิสาหกิจ หรือ พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 โดยกลุ่มสมาพันธ์รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และองค์กรประชาธิปไตยต่าง ๆ เกิดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2542 ตั้งแต่กฎหมายชุดเศรษฐกิจนี้ถูกเขียนขึ้นในช่วงสมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์ ภายใต้การนำของ ชวน หลีกภัย หลังจากนั้นเกิดการรวมตัวหลายเครือข่าย โดยมีองค์กรแรงงานที่ประกาศตัวชัด คือ สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) และคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) เป็นตัวแทนร่วมเคลื่อนไหวกับกลุ่มพันธมิตรกู้ชาติปี พ.ศ. 2545 ยุครัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ที่ทำการผลักกฎหมายพิจารณาผ่านรัฐสภาและประกาศบังคับใช้ แม้ช่วงหาเสียงเลือกตั้งก่อนหน้าจะประกาศชัดเจนว่าไม่เห็นด้วยและคัดค้านกับกฎหมายชุดนี้ จึงนำมาสู่การเคลื่อนไหวขับไล่ทักษิณ ชินวัตร ให้พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พร้อมเรียกร้องให้อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ดำรงตำแหน่งแทน และนำไปสู่การปะทะกับอีกกลุ่มที่สนับสนุนการทำงานของรัฐบาล ท้ายที่สุดจึงเป็นเงื่อนไขสู่การรัฐประหารในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 

ภายหลังการเคลื่อนไหวต่อต้านกฎหมายขายรัฐวิสาหกิจ กลับมาเคลื่อนไหวอีกครั้งในวันแรงงานแห่งชาติปี พ.ศ. 2552 ยุครัฐบาลภายใต้การนำของสมัคร สุนทรเวช โดยกลุ่มสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ท่ามกลางสถานการณ์ชุมนุมปะทะกันของกลุ่มพันธมิตรฯ หรือกลุ่มคนเสื้อเหลือง และกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือกลุ่มคนเสื้อแดง

ทุก “เสียง” มีความหมาย

เราทุกคนคือ “แรงงาน” ที่มีชีวิต ร่วมแชร์ประสบการณ์การทำงานที่คุณมี บางทีอาจมีหลายคนที่เจอประสบการณ์เดียวกัน

พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย

503/20 นิคมมักกะสัน ถนนมักกะสัน แขวง มักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400

วันเวลาทำการ

เปิดบริการทุกวันพุธ - อาทิตย์

เวลา 10:00 - 16:30 น​.

ช่องทางการติดต่อ

Tel : 02-251-3173

Email : tlm.thailabourmuseum@gmail.com

©2024 DEV.THAILABOURMUSEUM.ORG. ALL RIGHTS RESERVED.