หนังสือทรัพยศาสตร์

การปฏิวัติครั้งที่ 2
SHARE

หนังสือทรัพยศาสตร์ถือเป็นตำราเศรษฐศาสตร์เล่มแรกของประเทศสยาม (ไทย) ถูกตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2454 ผู้เขียนคือพระยาสุริยานุวัตร หรือ เกิด บุนนาค ซึ่งเป็นขุนนางผู้ไม่พอใจในความล้าหลังของระบบเศรษฐกิจและการปกครองของรัฐบาล

ข้างคนชั้นต่ำถึงจะอุตส่าห์ทำการเหน็ดเหนื่อยสักเท่าใดก็ได้ค่าแรงไม่พอจะเลี้ยงชีพให้มีความสุขเสมอไม่ได้แต่ฝ่ายชนชั้นสูงแม้แต่จะไม่ได้ทำงานอย่างใดหากมีทุนทรัพย์สมบัติสะสมอยู่มากก็ได้รับผลประโยชน์ซึ่งเกิดจากทุนและทรัพย์สมบัตินั้นเป็นธรรมดา” 

หนังสือทรัพยศาสตร์แบ่งออกเป็น 3 ภาค ได้แก่ การผลิต การกระจายรายได้ การค้าและการแลกเปลี่ยน ภาคที่เป็นปัญหานำมาสู่การวิพากษ์วิจารณ์โดยฝ่ายรัฐบาล และถูกโจมตีทางการเมืองมากที่สุด คือ ภาคที่สองว่าด้วยการกระจายรายได้ เพราะกล่าวถึงกลไกความยุติธรรมของผลตอบแทน และที่มาของรายได้ของผู้ที่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตรูปแบบต่าง ๆ อาทิ ค่าเช่าที่ดิน กำไร ค่าแรง สมาคมของคนงาน (แนวคิดในลักษณะสมัยกลาง ไม่ใช่แนวคิดสหภาพแรงงานยุคปัจจุบัน) แต่ถึงกระนั้น พระยาสุริยานุวัตรก็ไม่ได้สนับสนุนแนวทางการขบวนการสหภาพแรงงานที่มีการเจรจาต่อรองและการนัดหยุดงาน เพราะมองว่าเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนหลักการเสรีนิยมและเป็นการทำลายประโยชน์ของสังคม เช่นเดียวกันกับความเห็นของบรรดานักเศรษฐศาสตร์คลาสสิกทั่วไป ท้ายที่สุดการอธิบายเนื้อหาในหนังสือโดยการพยายามอ้างอิงบริบทของสังคมขณะนั้น ทำให้รัฐบาลในช่วงเวลานั้นมองว่าทรัพยศาสตร์เป็นหนังสือแนวปฏิวัติจึงถูกห้ามตีพิมพ์และห้ามใช้ในการสอนวิชาเศรษฐศาสตร์ในสมัยรัชกาลที่ 7 และกลายเป็นหนังสือต้องห้ามในที่สุด


อ้างอิง

  • แล ดิลกวิทยรัตน์. “แรงงานในทรัพย์ศาสตร์: ทัศนะทุนนิยมในยุคศักดินา.” ใน ประวัติศาสตร์แรงงานไทย (ฉบับกู้ศักดิ์ศรีกรรมกร), บรรณาธิการโดย ฉลอง สุนทราวาณิชย์ สุวิมล รุ่งเจริญ ศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา สมาน แจ่มบุรี, 123-133. กรุงเทพฯ: พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย, 2542.

ทุก “เสียง” มีความหมาย

เราทุกคนคือ “แรงงาน” ที่มีชีวิต ร่วมแชร์ประสบการณ์การทำงานที่คุณมี บางทีอาจมีหลายคนที่เจอประสบการณ์เดียวกัน

พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย

503/20 นิคมมักกะสัน ถนนมักกะสัน แขวง มักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400

วันเวลาทำการ

เปิดบริการทุกวันพุธ - อาทิตย์

เวลา 10:00 - 16:30 น​.

ช่องทางการติดต่อ

Tel : 02-251-3173

Email : tlm.thailabourmuseum@gmail.com

©2024 DEV.THAILABOURMUSEUM.ORG. ALL RIGHTS RESERVED.