ในสังคมสยาม (ไทยโบราณ) ผู้เป็นฐานกำลังสำคัญในกระบวนการผลิตและการพัฒนาประเทศก็คือ แรงงานบังคับที่เรียกกันว่า “ไพร่” และ “ทาส” มาถึงวันนี้วันที่ประเทศไทยได้เข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 อย่างสมบูรณ์ ผู้ใช้แรงงานหรือคนทำงานที่ยังคงเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ก็ยังคงเป็นฟันเฟืองสำคัญที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของประเทศ แม้ว่าแรงงานจะมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในตลอดช่วงเวลาของประวัติศาสตร์อันยาวนานของประเทศนี้ แต่เรื่องราวของพวกเขากลับกลายเป็นสิ่งลึกลับ และหายสาบสูญไปจากหน้าประวัติศาสตร์ไทย ประวัติศาสตร์ของรัฐเอาแต่ยกย่องเชิดชูชนชั้นสูงเพียงหยืบมือเดียวในสังคม แต่กลับละเลยและมองไม่เห็นความสำคัญของแรงงาน ที่มีเรื่องราว บทบาท คุณค่าและคุณูประการของผู้คนที่ได้อุทิศตนทำงานให้กับประเทศมาอยากยาวนาน
แรงงานในประเทศนี้ ยังคงเป็นกลุ่มคนผู้อาภัพที่ทุ่มเททำงานให้กับสังคมอย่างเหน็ดเหนื่อย แต่ถูกมองว่าต่ำต้อยด้อยค่าในสังคมเสมอมา พวกเขาเคยมีสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ยากแค้นลำเค็ญอย่างไรในครั้งอดีต ในปัจจุบันก็พวกเขาก็ยังคงมีสถานะทางสังคมที่ไม่ได้แตกต่างจากอดีตที่ผ่านมา แรงงานยังคงได้รับส่วนแบ่งจากการเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการผลิตเป็นค่าจ้างเพียงน้อยนิด ไม่มีความมั่นคงในการทำงาน ขาดสวัสดิการพื้นฐานที่ดีและเพียงพอ งานหลายประเภทยังอยู่ในสภาพที่ไม่ปลอดภัย ในแต่ละปีจะมีผู้ใช้แรงงานต้องเสียชีวิต เป็นโรค ได้รับบาดเจ็บและเผชิญปัญหานานาประการที่เกิดจากการทำงานอยู่เป็นจำนวนมาก
เราทุกคนคือ “แรงงาน” ที่มีชีวิต ร่วมแชร์ประสบการณ์การทำงานที่คุณมี บางทีอาจมีหลายคนที่เจอประสบการณ์เดียวกัน
พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย
503/20 นิคมมักกะสัน ถนนมักกะสัน แขวง มักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
วันเวลาทำการ
เปิดบริการทุกวันพุธ - อาทิตย์
เวลา 10:00 - 16:30 น.