แรงงานแพลตฟอร์มในไทย

การปฏิวัติครั้งที่ 4
SHARE

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ได้ก่อให้เกิดสภาวะหยุดชะงัก (disruption) ทั้งในทางเศรษฐกิจ ภาคธุรกิจ ตลาดแรงงาน และการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้คนทั่วโลก นี่ถือเป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนนับแต่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมขึ้นบนโลกใบนี้ ด้วยนวัตกรรมทางเทคโนโลยีและการเชื่อมต่อออนไลน์ที่เพิ่มขึ้น บทบาทของการจับคู่ตลาดแรงงานดิจิทัลจึงเพิ่มสูงขึ้น หัวใจสำคัญของการเปลี่ยนแปลงนี้คือการเพิ่มขึ้นของเศรษฐกิจแพลตฟอร์ม แรงงานกำลังหางานและทำงานผ่านทางแพลตฟอร์มและแอ๊ปเอาท์ซอร์สออนไลน์ซึ่งเรียกว่าเศรษฐกิจแพลตฟอร์ม(platform economy) จริง ๆ แล้วการจ้างงานแบบที่เรียกว่า Gig work หรือการจ้างงานแบบชั่วคราวไม่ผูกพันนั้นได้เกิดขึ้นและถูกพูดถึงมาหลายปีพอสมควรแล้ว แต่สำหรับเศรษฐกิจดิจิทัลแพลตฟอร์มนั้นยังถือว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่ การเติบโตของระบบเศรษฐกิจแพลตฟอร์มนั้นแม้จะเป็นช่องทางและเปิดโอกาสใหม่ให้กับการจ้างงาน ที่ทำให้ผู้คนเข้าถึงแหล่งงาน มีช่องทางทำมาหากิน หารายได้มากขึ้นก็ตาม แต่ขณะเดียวกันก็ได้ สร้างปัญหาใหม่ ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการจ้างงานและความสัมพันธ์ในการทำงานที่มีความสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น แรงงานจำนวนมากที่ทำงานผ่านแพลตฟอร์มประเภทต่าง ๆ ที่มีมากมายหลายรูปแบบกำลังเผชิญกับปัญหาและถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างหนักหน่วงอันเป็นผลมาจากการเข้าทำงานบนแพลตฟอร์ม

อีกทั้งปรากฏการณ์การระบาดครั้งใหญ่ของไวรัส COVID-19 ที่แพร่ระบาดไปทั่วโลกในปี 2563 และดำเนินต่อเนื่องมาจนถึงขณะนี้ ได้ส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อภาคอุตสาหกรรม ธุรกิจ การค้าและการบริการทั่วทุกหนแห่ง การผลิตแบบ supply chain ซึ่งเป็นการผลิตแบบพึ่งพิงการทำงานที่เชื่อมโยงกันเป็นโครงข่ายการผลิตที่มีขอบเขตที่กว้างขวางข้ามพรมแดนซึ่งเติบโตขึ้นและแพร่ระบาดไปทุกภูมิภาคของโลกก่อนหน้านี้ได้รับผลกระทบและความเสียหายอย่างไม่เคยมีการคาดคิดมาก่อน อุตสาหกรรม ธุรกิจ การค้าและการบริการจำนวนมากมายต้องหยุดชะงัก หลายกิจการต้องปิดตัวลง ผู้คนมากมายต้องตกงานและจำนวนมากได้ถูกผนวกเข้าสู่การจ้างงานบนเศรษฐกิจแพลตฟอร์มอย่างไม่มีทางเลือก ปรากฏการณ์ดังกล่าวยิ่งทำให้การจ้างงานบนแพลตฟอร์มเติบโตและขยายตัวอย่างไร้ขอบเขตและทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้นไปอีก

ด้วยเหตุนี้ประเด็นการจ้างงานบนเศรษฐกิจแพลตฟอร์มจึงเป็นประเด็นใหญ่และมีความสำคัญมากเพราะเกี่ยวข้องและส่งผลกระทบต่อผู้คนจำนวนมาก แม้การจ้างงานชนิดนี้จะเกิดและพัฒนามาระยะเวลาหนึ่งแล้วก็ตาม แต่ก็ยังต้องถือว่าเป็นเรื่องใหม่ ไม่เฉพาะในประเทศไทยแต่ทั่วทุกหนแห่งบนโลก การศึกษาวิจัยค้นคว้าในหัวข้อดังกล่าวจึงหัวเป็นหัวข้อที่ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้นในปัจจุบัน

ทุก “เสียง” มีความหมาย

เราทุกคนคือ “แรงงาน” ที่มีชีวิต ร่วมแชร์ประสบการณ์การทำงานที่คุณมี บางทีอาจมีหลายคนที่เจอประสบการณ์เดียวกัน

พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย

503/20 นิคมมักกะสัน ถนนมักกะสัน แขวง มักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400

วันเวลาทำการ

เปิดบริการทุกวันพุธ - อาทิตย์

เวลา 10:00 - 16:30 น​.

ช่องทางการติดต่อ

Tel : 02-251-3173

Email : tlm.thailabourmuseum@gmail.com

©2024 DEV.THAILABOURMUSEUM.ORG. ALL RIGHTS RESERVED.