วัตถุจัดแสดงกลุ่มนี้เป็นการรวบรวม สิ่งพิมพ์ โปสเตอร์ หนังสือ เกี่ยวกับการลุกขึ้นเรียกร้องประชาธิปไตยของประชาชนในช่วงเหตุการณ์วันมหาวิปโยค (วันที่ 14 ตุลาคม 2516)
เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ 14 ตุลาฯ มีความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงสังคมไทยเป็นอย่างมากในหลายมิติ และยังก่อให้เกิดการฟื้นฟูขบวนการเคลื่อนไหวอื่น ๆ ที่ถูกปราบปรามในช่วงยุครัฐบาลเผด็จการอย่าง จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และยุคถนอม ประภาส ณรงค์ ในปี 2516 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวขบวนการแรงงานของสหภาพแรงงาน ที่กลับมามีบทบาทสำคัญทั้งบทบาทการเป็นตัวแทนกลุ่มผลประโยชน์ให้เพื่อนคนงานด้วยกันเองผ่านการนัดหยุดงาน ภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ ก่อให้เกิดกระแสการนัดหยุดงานเป็นจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ กระทั่งเป็นประวัติกาล ในปี พ.ศ. 2517 มีจำนวน 357 ครั้ง และในอีกสองปีถัดไปรวมกันจำนวนกว่า 374 ครั้ง ตลอดจนบทบาทในการเคลื่อนไหวเรียกร้องปัญหาทางสังคมในประเทศขณะนั้น และมีการเคลื่อนไหวที่เด่นชัดร่วมกับกลุ่มพลังสำคัญของสังคม นั่นคือ ขบวนการนักศึกษา และขบวนการชาวนา
อาจนับได้ว่า การเคลื่อนไหวของขบวนการกรรมกรในยุค 14 ตุลาคม 2516 จนกระทั่งถึงยุคเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 เป็นการเคลื่อนไหวทางสังคมที่มีส่วนร่วมกับขบวนการทางสังคมอื่น ๆ ในเรื่องสิทธิประโยชน์ที่ครอบคลุมถึงชนชั้นอื่น ๆ นอกเหนือจากชนชั้นกรรมกรมากที่สุด เพราะการเคลื่อนไหวหลังจากเหตุการณ์ครั้งนี้มีความเด่นชัดไม่เท่าเดิม และขบวนการแรงงานมีการเรียกร้องถึงส่วนรวมน้อยลงอย่างชัดเจน
อ้างอิง
เราทุกคนคือ “แรงงาน” ที่มีชีวิต ร่วมแชร์ประสบการณ์การทำงานที่คุณมี บางทีอาจมีหลายคนที่เจอประสบการณ์เดียวกัน
พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย
503/20 นิคมมักกะสัน ถนนมักกะสัน แขวง มักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
วันเวลาทำการ
เปิดบริการทุกวันพุธ - อาทิตย์
เวลา 10:00 - 16:30 น.