กฎหมายแรงงานฉบับแรก

การปฏิวัติครั้งที่ 2
SHARE

แม้สยามจะเป็นประเทศหนึ่งที่ส่งตัวแทนเข้าร่วมประชุมขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ครั้งแรก) ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2462 โดยที่ประชุมได้เรียกร้องให้ประเทศสมาชิกทั้งหลาย ตรากฎหมายแรงงานขึ้นเพื่อช่วยเหลือคุ้มครองผู้ใช้แรงงาน แต่รัฐบาลสยามขณะนั้นก็ยังไม่ยินยอมตรากฎหมายดังกล่าวออกมาบังคับใช้ โดยให้เหตุผลว่าประเทศสยามเป็นประเทศกสิกรรมมีแรงงานจำนวนน้อยมาก อย่างไรก็ตาม องค์กรแรงงานระหว่างประเทศก็เร่งรัดตลอดมา เพื่อให้ประเทศสยาม (ไทย) ตราพระราชบัญญัติแรงงานออกมาใช้  จนในที่สุดรัฐบาลก็ได้ทำร่างกฎหมายแรงงานฉบับแรกออกมาในปี  พ.ศ. 2470  เรียกว่า “พระราชบัญญัติอุตสาหกรรมและกรรมกร 2470” ร่างกฎหมายดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายที่จะให้การคุ้มครองและดูแลความปลอดภัยในการทำงานของกรรมกร แต่ก็ยังไม่มีการให้สิทธิแก่คนงานในการจัดตั้งองค์กร (สหภาพ) และไม่ให้อำนาจกับแรงงานในการเจรจาต่อรอง อย่างไรก็ตามร่างกฎหมายดังกล่าวฉบับไม่ได้ถูกประกาศใช้แต่อย่างใด โดยมีเพียงแค่การประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการจ้างแรงงาน ในปี พ.ศ. 2472 เท่านั้น

กาลต่อมาได้มีการประกาศใช้ “พระราชบัญญัติแรงงาน พ.ศ. 2499” ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2500 ถือว่าเป็นกฎหมายคุ้มครองแรงงานและแรงงานสัมพันธ์ฉบับแรกของไทย ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเรื่องของ การจำกัดชั่วโมงการทำงาน วันหยุดประจำสัปดาห์ สิทธิหยุดลาคลอด การรวมตัวก่อตั้งสหภาพแรงงาน การห้ามใช้แรงงานเด็ก  และสวัสดิการในที่ทำงาน เป็นต้น แต่เป็นที่น่าเสียดายเมื่อจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำการรัฐประหารและได้ออกประกาศคณะปฏิบัติฉบับที่ 19 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติแรงงาน พ.ศ. 2499 หลังถูกประกาศใช้เพียงไม่นาน 

ปัจจุบันภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งถูกแก้ไขมาหลายครั้ง ยังพบว่ามีความล้าหลังและถูกเรียกร้องจากทั้งพรรคการเมืองและภาคประชาสังคมให้มีการปรับปรุงแก้ไขอยู่หลายประเด็น เช่น การปรับลดชั่วโมงการทำงาน เพิ่มสิทธิการลาคลอดบุตรให้แก่เพศชาย การขจัดการเลือกปฏิบัติ และการปรับหลักเกณฑ์การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นที่น่าสนใจว่าพัฒนาการของกฎหมายคุ้มครองแรงงานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ล้วนมีประเด็นทางการเมืองมาเกี่ยวข้องทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการยืนยันได้ว่าไม่ว่าจะยุคสมัยใดเรื่องของ “การเมืองและแรงงาน” คือเรื่องที่เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออก


อ้างอิง

ทุก “เสียง” มีความหมาย

เราทุกคนคือ “แรงงาน” ที่มีชีวิต ร่วมแชร์ประสบการณ์การทำงานที่คุณมี บางทีอาจมีหลายคนที่เจอประสบการณ์เดียวกัน

พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย

503/20 นิคมมักกะสัน ถนนมักกะสัน แขวง มักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400

วันเวลาทำการ

เปิดบริการทุกวันพุธ - อาทิตย์

เวลา 10:00 - 16:30 น​.

ช่องทางการติดต่อ

Tel : 02-251-3173

Email : tlm.thailabourmuseum@gmail.com

©2024 DEV.THAILABOURMUSEUM.ORG. ALL RIGHTS RESERVED.