จักรอุตสาหกรรมดาวรุ่งไทยในอดีต

การปฏิวัติครั้งที่ 3
SHARE

จักรเย็บผ้าในโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ นับว่าเป็นเครื่องจักรและอุตสาหกรรมดาวรุ่งของประเทศไทยในอดีตเป็นอย่างมาก แต่แล้วเมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งในปี 2540 หลายธุรกิจล้มละลาย ประกอบกับการย้ายฐานการผลิตขนานใหญ่ เพื่อไปแสวงหาแรงงานราคาถูกในการผลิต สำหรับการแข่งขันในตลาดเสรี ทำให้โรงงานสิ่งทอมีการปิดตัวลงจำนวนมาก คนงานถูกเลิกจ้างนับหลายหมื่นราย

ตัวอย่างคนงานตัดเย็บเสื้อผ้าส่งออกย่านรังสิต บริษัท ไทยแอร์โร่การ์เม้นท์ มีคนงานประมาณ 3,000 กว่าคน และบริษัท ไทยแอร์โร่ (บริษัทใหญ่) มีคนงานอีกประมาณ 2,000 กว่าคน รวมทั้งสองโรงงานในเครือ มีคนงานประมาณ 5,000 กว่าคน ถูกเลิกจ้างกระทันหันและนายจ้างไม่มีการจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย นับว่าเป็นเหตุการณ์ที่แรงงานได้รับผลกระทบจากวิกฤตต้มยำกุ้ง รวมถึงความไม่เป็นธรรมจากกฎหมาย และนายจ้างเป็นอย่างมาก จนมีการรวมตัวกันฟ้องศาล เจรจาข้อเรียกร้องในปี 2542 และยืดเยื้อกินระยะเวลาถึงปลายปี 2543 เพื่อยึดทรัพย์สินต่าง ๆ ภายในโรงงาน นำเครื่องจักรและอุปกรณ์อื่น ๆ ออกประมูลขาย เพื่อให้ได้เงินกลับมาเยียวยาคนงานกันเอง ภายหลังจากโรงงานปิดตัวลง แต่ถึงกระนั้นเงินที่ได้รับจากการประมูลขายก็ยังไม่เพียงพอในการจ่ายให้ครบทุกคน และไม่เพียงพอต่อค่าชดเชยที่ควรจะได้รับตามกฎหมาย ปี 2542 เจรจาข้อเรียกร้อง

ทุก “เสียง” มีความหมาย

เราทุกคนคือ “แรงงาน” ที่มีชีวิต ร่วมแชร์ประสบการณ์การทำงานที่คุณมี บางทีอาจมีหลายคนที่เจอประสบการณ์เดียวกัน

พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย

503/20 นิคมมักกะสัน ถนนมักกะสัน แขวง มักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400

วันเวลาทำการ

เปิดบริการทุกวันพุธ - อาทิตย์

เวลา 10:00 - 16:30 น​.

ช่องทางการติดต่อ

Tel : 02-251-3173

Email : tlm.thailabourmuseum@gmail.com

©2024 DEV.THAILABOURMUSEUM.ORG. ALL RIGHTS RESERVED.