ผ้าโผกหัวรณรงค์ทวงสิทธิกรณีเคเดอร์

การปฏิวัติครั้งที่ 3
SHARE

“…เห็นข่าวลูกสาวเศรษฐีแต่งงานเป็นงานช้างของขวัญล้นหลามอดสะท้อนใจถึงคนงานหญิงหลายชีวิตในโรงงานที่ตระกูลของท่านเป็นเจ้าของร่วมอยู่ไม่ได้เธอเหล่านั้นไม่มีโอกาสที่จะได้เสวยสุขแม้เพียงกระผีกริ้นของท่านเศรษฐีทั้งหลายตายไปโดยชะตากรรมเธอไม่ได้เลือกและโดยความทารุณที่สร้างขึ้นทางอ้อมจากเส้นทางที่นำไปสู่ความเป็นเศรษฐีของคนที่กินแรงงานของเธอค่าชีวิตของเธอกลับถูกต่อรองคนเขาหาว่าเธอเป็นแค่แรงงานหญิงค่าไม่ควรเกินแสนบาททำไมชีวิตของคนที่ทำงานหนักหาเลี้ยงคนอื่นให้กำไรกับนายจ้างให้ค่าเล่าเรียนแก่น้องให้ความอยู่รอดกับพ่อแม่ให้อนาคตกับลูกหลานให้ความสุขกับพี่น้องจึงถูกตีค่าต่ำกว่าชีวิตลูกสาวเศรษฐี…”

ส่วนหนึ่งในจดหมายระบายความคับแค้นใจของนักกิจกรรมหญิงที่จัดกิจกรรมเดินรณรงค์ทวงสิทธิ กรณีโศกนาฏกรรมของคนงานเคเดอร์ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2536 ที่มีแรงงานเสียชีวิตทั้งสิ้น 188 คน เป็นแรงงานชาย 14 ราย แรงงานหญิง 174 ราย และยังมีผู้ได้รับบาดเจ็บร่วม 469 คน จนเกิดการตั้งคณะกรรมการรณรงค์สุขภาพความปลอดภัยของคนงาน ตลอดจนผลักดันให้รัฐบาลแต่งตั้งตัวแทนจากแรงงานและนักวิชาการเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการช่วยเหลือลูกจ้างที่ประสบภัยที่เสียชีวิตและทุพพลภาพ การต่อสู้ในครั้งนี้ทำให้รับสิทธิประโยชน์ที่ดีขึ้น แม้จะยังไม่มากพอดั่งหวังเท่าใดนัก อาทิ เพิ่มสิทธิประโยชน์ด้านเงินช่วยเหลือแรงงานผู้เสียชีวิตและทุพพลภาพคนละ 1 แสนบาท และให้รัฐบาลประกาศว่าวันที่ 10 พฤษภาคมของทุกปี ให้เป็นวันความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ ท้ายที่สุด รัฐบาลลงมติเห็นชอบ และอนุมัติในวันที่ 26 สิงหาคม 2540 ซึ่งใช้เวลานานกว่าหลายปี แม้ปัจจุบันจะผ่านมา 20 กว่าปีแล้ว แต่ปัญหาด้านความปลอดภัยในที่ทำงานยังคงไม่ครอบคลุม เช่น การได้รับสารเคมีจากการทำงาน สภาพแวดล้อมที่เลวร้าย การทดแทนเยีวยาล่าช้าและมีเงื่อนไขมากมาย ฯลฯ ซ้ำร้ายยังขยายไปยังแรงงานภาคส่วนอื่น ๆ อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นแรงงานในระบบ แรงงานนอกระบบ แรงงานข้ามชาติ ตลอดจนสิ่งแวดล้อมและคนในชุมชนโดยรอบ


อ้างอิง

  • สุนี ไชยรส. “ธีรนาถ กาญจนอักษร เฟมินิสต์ที่สู้เพื่อประชาธิปไตย แรงงาน ความเสมอภาคระหว่างเพศ และสิ่งแวดล้อม.” comrade blog. สืบค้นเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2564, http://comradeblogcom.blogspot.com/2013/08/blog-post.html
  • บัณฑิตย์ ธนชัยเศรษฐวุฒิ. ขบวนการสหภาพแรงงานไทยจาก รสช. ถึงยุค IMF. กรุงเทพฯ: มูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน, 2542. 

ทุก “เสียง” มีความหมาย

เราทุกคนคือ “แรงงาน” ที่มีชีวิต ร่วมแชร์ประสบการณ์การทำงานที่คุณมี บางทีอาจมีหลายคนที่เจอประสบการณ์เดียวกัน

พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย

503/20 นิคมมักกะสัน ถนนมักกะสัน แขวง มักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400

วันเวลาทำการ

เปิดบริการทุกวันพุธ - อาทิตย์

เวลา 10:00 - 16:30 น​.

ช่องทางการติดต่อ

Tel : 02-251-3173

Email : tlm.thailabourmuseum@gmail.com

©2024 DEV.THAILABOURMUSEUM.ORG. ALL RIGHTS RESERVED.