สมุดบัญชีรายชื่อคอมมิวนิสต์ของตำรวจสันติบาล

การปฏิวัติครั้งที่ 2
SHARE

รัฐบาลไทยมีความหวาดกลัวต่อภัยคอมมิวนิสต์ นับแต่สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชต่อเนื่องมาถึงหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ผู้คนที่มีความคิดแตกต่างในทางการเมืองจำนวนมากถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ คนเหล่านี้จะถูกกวาดล้างจับกุม โดยเฉพาะหลังการรัฐประหารในปี 2490 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง สงครามเย็นระหว่างค่ายทุนนิยมเสรีกับคอมมิวนิสต์ก็ได้ก่อตัวขึ้น และคืบคลานเข้าสู่ประเทศไทยอย่างรวดเร็ว ภายใต้การแทรกแซงของสหรัฐอเมริกาเข้ามาแทนที่มหาอำนาจเก่าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยความเชื่อในทฤษฎีโดมิโน่ โดยสนับสนุนรัฐต่าง ๆ ในภูมิภาคให้รับความเชื่อในลัทธิทุนนิยมเสรีและส่งเสริมให้เกิดการสถาปนารัฐบาลเผด็จการทหารเพื่อเป็นปราการในการต่อสู้ป้องกันคอมมิวนิสต์ 

ในวันที่ 20 ตุลาคม 2501 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำการรัฐประหารยึดอำนาจจากจอมพล ป. และพรรคพวก ด้วยการสนับสนุนของอเมริกาผ่านการสร้างรัฐบาลเผด็จการเบ็ดเสร็จ พร้อมนโยบายและโครงสร้างเศรษฐกิจทุนนิยมเสรีจนประเทศก้าวเข้าสู่ยุคแห่งการพัฒนาที่มุ่งส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชนอย่างเต็มที่ มีการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับแรกขึ้นมาใช้ในปี 2504 เพื่อรองรับและส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ เน้นภาคอุตสาหกรรมในเมือง ชนบทไทยถูกทอดทิ้งจนผู้คนต้องเข้าแสวงหางานทำในเมืองหลวงเป็นจำนวนมาก ในขณะเดียวกันกฎหมายแรงงานฉบับแรกที่ถูกประกาศใช้เมื่อปี 2499 ถูกยกเลิก การมีอำนาจต่อรองภายใต้การรวมตัวจัดตั้งองค์กรของผู้ใช้แรงงานกลายเป็นสิ่งผิดกฎหมาย และเป็นการทำลายบรรยากาศการลงทุน 

และด้วยข้ออ้างในการปราบปรามคอมมิวนิสต์ รัฐบาลได้ลงมือกำจัด กวาดล้าง ผู้มีความคิดเห็นต่างกับรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นนักการเมือง นักหนังสือพิมพ์ ปัญญาชนและผู้นำแรงงานจำนวนมากถูกจับกุมคุมขัง รวมถึงผู้นำแรงงานในขณะนั้น ศุภชัย ศรีสติ ถูกเผด็จการ สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ติดสินประหารชีวิตด้วยมาตรา 17 โดยไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรมใด ๆ สหภาพแรงงานถูกมองว่าเป็นองค์กรของฝ่ายคอมมิวนิสต์ เป็นอันตรายต่อความมั่นคงของชาติ เอกสารข้างต้น เป็นบันทึกการจับกุมและเนรเทศผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ของตำรวจสันติบาลในยุคสมัยนั้น ทุนนิยมภายใต้การปกครองของระบอบเผด็จการทหารจึงเต็มไปด้วยการเอารัดเอาเปรียบแรงงาน คนทำงานไม่มีสิทธิ มีเสียงใด ๆ ค่าจ้าง สวัสดิการ รวมถึงสภาพการจ้างงานทั้งหมดถูกกำหนดโดยนายจ้างแต่เพียงฝ่ายเดียว ดั่งเช่นนายและบ่าวในสังคมศักดินาโบราณ ระบบแรงงานสัมพันธ์เช่นนี้ถูกวางรากฐานและฝังรากลึกมาจนถึงปัจจุบัน

ทุก “เสียง” มีความหมาย

เราทุกคนคือ “แรงงาน” ที่มีชีวิต ร่วมแชร์ประสบการณ์การทำงานที่คุณมี บางทีอาจมีหลายคนที่เจอประสบการณ์เดียวกัน

พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย

503/20 นิคมมักกะสัน ถนนมักกะสัน แขวง มักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400

วันเวลาทำการ

เปิดบริการทุกวันพุธ - อาทิตย์

เวลา 10:00 - 16:30 น​.

ช่องทางการติดต่อ

Tel : 02-251-3173

Email : tlm.thailabourmuseum@gmail.com

©2024 DEV.THAILABOURMUSEUM.ORG. ALL RIGHTS RESERVED.