สวัสดิการศูนย์เลี้ยงเด็ก

การปฏิวัติครั้งที่ 3
SHARE

เนื่องในวันสตรีสากล 8 มีนาคม พ.ศ. 2540 แรงงานกลุ่มต่าง ๆ ยังคงมีการจัดกิจกรรม รณรงค์ รวมถึงยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลเช่นเดิมในทุก ๆ ปี เพียงแต่ข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลในปีนี้นั้น คณะทำงานสตรีสากล ซึ่งประกอบไปด้วย ฝ่ายสตรีสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทย สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ กลุ่มสหภาพแรงงานต่าง ๆ และองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสตรี ได้ร่วมกันเสนอให้รัฐบาลมีนโยบายและแผนปฏิบัติการที่ชัดเจนในเรื่อง “สวัสดิการศูนย์เลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียน ในย่านอุตสาหกรรมและชุมชน” ให้เพียงพอ

โดยรัฐต้องจัดสรรงบประมาณที่ชัดเจนให้ส่วนนี้แก่กระทรวงแรงงาน และกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อให้สามารถจัดตั้งศูนย์เลี้ยงเด็กเล็กได้ พร้อมทั้งเน้นการให้บริการเลี้ยงดูบุตรก่อนวัยเรียนของลูกจ้างและประชาชนที่มีรายได้ต่ำในชุมชนหรือย่านอุตสาหกรรมนั้น ๆ รวมถึงองค์กรชุมชน องค์กรแรงงาน ตลอดจนแรงงานในท้องถิ่นในย่านอุตสาหกรรมนั้น ๆ จะต้องมีส่วนร่วมในการจัดตั้ง บริหาร และการจัดการให้มีคุณภาพ ตอบสนองต่อความต้องการประชาชนได้อย่างแท้จริง

หากแต่ระยะเวลาล่วงเลยมาจนถึงปัจจุบัน นโยบายด้านดังกล่าวกลับไม่ถูกพูดถึง แม้ในสภาผู้แทนราษฎรจะมีการอภิปรายด้านงบประมาณ ในปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา ให้กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อสร้างศูนย์เด็กเล็กในท้องถิ่นก็ตาม


อ้างอิง

  • บัณฑิตย์ ธนชัยเศรษฐวุฒิ. ขบวนการสหภาพแรงงานไทยจาก รสช. ถึงยุค IMF. กรุงเทพฯ: มูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน, 2542. 

ทุก “เสียง” มีความหมาย

เราทุกคนคือ “แรงงาน” ที่มีชีวิต ร่วมแชร์ประสบการณ์การทำงานที่คุณมี บางทีอาจมีหลายคนที่เจอประสบการณ์เดียวกัน

พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย

503/20 นิคมมักกะสัน ถนนมักกะสัน แขวง มักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400

วันเวลาทำการ

เปิดบริการทุกวันพุธ - อาทิตย์

เวลา 10:00 - 16:30 น​.

ช่องทางการติดต่อ

Tel : 02-251-3173

Email : tlm.thailabourmuseum@gmail.com

©2024 DEV.THAILABOURMUSEUM.ORG. ALL RIGHTS RESERVED.