เอกสารก่อตั้งสมาคมรถราง

การปฏิวัติครั้งที่ 2
SHARE

ประเทศไทยมีการประกาศใช้กฎหมายว่าด้วยการรวมตัวเป็นสโมสรและสมาคม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2440 แต่คนงานและผู้ใช้แรงงานไม่เคยได้รับการยอมรับให้จดทะเบียนเป็นสมาคม แม้มีการยื่นขอจดทะเบียนสมาคมของคนงานหลายต่อหลายครั้ง จึงมีเพียงการรวมตัวกันของแรงงานจีนในรูปแบบของสมาคมลับอั้งยี่ ซึ่งมีสมาชิกส่วนใหญ่เป็นกรรมกร และต่อมาได้กลายเป็นสิ่งต้องห้ามเมื่อรัฐบาลออกพระราชบัญญัติอั้งยี่ขึ้นมาบังคับใช้ เพื่อควบคุมสมาคมลับของชาวจีน และเพื่อให้มีการจัดตั้งสมาคมแบบเปิดเผยเป็นทางการขึ้นอันเป็นการสะดวกแก่การตรวจสอบดูแลของรัฐ แต่ถึงกระนั้นรัฐบาลก็ยังไม่ยินยอมที่จะให้แรงงานได้มีการรวมตัวกันจัดตั้งสมาคมคนงานขึ้นตามกฎหมายใหม่นี้        แม้จะมีแรงงานหลายกลุ่มพยายามยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งเป็นสมาคม แต่ก็ไม่ปรากฏว่ามีสมาคมของแรงงานรายใดได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ต้องรอจนกระทั่งหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 ไปแล้ว 

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สิทธิเสรีภาพของชนชั้นล่างได้รับการยอมรับมากขึ้น กรรมกรเริ่มมีปากมีเสียง เริ่มรวมตัวกันเพื่อจัดตั้งเป็นองค์กร และในเดือนสิงหาคมปีนั้นเอง สมาคมของคนงานที่ได้รับการจดทะเบียนเป็นสมาคมแรกคือ “สมาคมคนงานรถรางสยาม” ที่นำโดย นายถวัติ ฤทธิเดช ปัญญาชนที่มีบทบาทอันโดดเด่นมาก่อนหน้านี้ในฐานะนักหนังสือพิมพ์กรรมกร และนักจัดตั้งแรงงาน สมาคมคนงานรถรางสยามจึงได้รับการยอมรับให้จดทะเบียนเป็นสมาคมของคนงานแห่งแรกอย่างถูกต้อง และมีใบเอกสารจดทะเบียนของสมาคมรถราง ใบบันทึกสภาผู้แทนราษฎร คำสั่ง 119 อย่างเป็นทางการตามกฎหมาย 

ทุก “เสียง” มีความหมาย

เราทุกคนคือ “แรงงาน” ที่มีชีวิต ร่วมแชร์ประสบการณ์การทำงานที่คุณมี บางทีอาจมีหลายคนที่เจอประสบการณ์เดียวกัน

พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย

503/20 นิคมมักกะสัน ถนนมักกะสัน แขวง มักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400

วันเวลาทำการ

เปิดบริการทุกวันพุธ - อาทิตย์

เวลา 10:00 - 16:30 น​.

ช่องทางการติดต่อ

Tel : 02-251-3173

Email : tlm.thailabourmuseum@gmail.com

©2024 DEV.THAILABOURMUSEUM.ORG. ALL RIGHTS RESERVED.