เอกสารบันทึกกรมแรงงาน การประกวดบทเรียงความ วันกรรมกรแห่งชาติ พ.ศ. 2500

การปฏิวัติครั้งที่ 2
SHARE

ในปี พ.ศ. 2500-2501 ช่วงปลายของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามได้มีการจัดประกวดเรียงความหัวข้อ “งานทุกอย่างเป็นเกียรติแก่ตน” ซึ่งเป็นดำริของจอมพล ป. ในฐานะรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย ที่ดูแลเกี่ยวกับเรื่องแรงงานโดยตรงในขณะนั้น การประกวดเรียงความจึงเป็นกิจกรรมหนึ่งในการจัดงาน วันแรงงานแห่งชาติ ในปี พ.ศ.2500 ซึ่งรัฐบาลได้อนุญาตให้สามารถมีการจัดกิจกรรมวันแรงงานได้อีกครั้งในปี พ.ศ.2499 ก่อนหน้านี้เพียงหนึ่งปีเท่านั้น 

โดยรัฐบาลให้งบจัดกิจกรรมจำนวน 25,000 บาท แบ่งออกเป็น 9 รางวัล ได้แก่ รางวัลที่ 1 รางวัลละ 5,000 บาท รางวัลที่ 2 รางวัลละ 3,000 บาท รางวัลที่ 3 รางวัลละ 2,000 บาท รางวัลชมเชยจำนวน 6 รางวัลเป็นกล่องบุหรี่ ปรากฎว่าไม่มีใครได้รางวัลที่ 1 และรางวัลที่สองเป็นของภิกษุวัฒนา นวลสุวรรณ เรียงความชนะได้รับรางวัลถูกจัดพิมพ์เป็นหนังสือ จำนวน 5,000 เล่มและอ่านออกอากาศทางวิทยุกรมประชาสัมพันธ์

ในช่วงปลายของยุคจอมพล ป. พิบูลสงคราม มีสถานการณ์ขัดแย้งกับสถาบันกษัตริย์ กองทัพบกภายใต้การนำของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัตช์ และรัฐบาลอเมริกา จอมพล ป. จึงเริ่มหันไปหาประเทศจีน โดยการส่ง สังข์ พัฒโนทัย ไปดำเนินความสัมพันธ์การทูตใต้ดิน สถานการณ์เหล่านี้ทำให้ จอมพล ป. หันมาสร้างฐานมวลชนสู้กับศัตรูเหล่านี้ของตน รวมถึงเริ่มหาเสียงเพื่อแข่งกับจอมพลสฤษดิ์ จึงเริ่มให้เสรีภาพกับประชาชน โดยเฉพาะฝ่ายแรงงาน มีการเอาใจเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นการอนุญาตให้จัดวันแรงงานอย่างเปิดเผยอีกครั้ง ให้มีการไฮปาร์ก รวมไปถึงจัดกิจกรรมประกวดบทเรียงความวันกรรมกรแห่งชาตินี้ และยังมีการออกกฎหมายแรงงานฉบับแรกขึ้นอีกด้วย

ทุก “เสียง” มีความหมาย

เราทุกคนคือ “แรงงาน” ที่มีชีวิต ร่วมแชร์ประสบการณ์การทำงานที่คุณมี บางทีอาจมีหลายคนที่เจอประสบการณ์เดียวกัน

พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย

503/20 นิคมมักกะสัน ถนนมักกะสัน แขวง มักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400

วันเวลาทำการ

เปิดบริการทุกวันพุธ - อาทิตย์

เวลา 10:00 - 16:30 น​.

ช่องทางการติดต่อ

Tel : 02-251-3173

Email : tlm.thailabourmuseum@gmail.com

©2024 DEV.THAILABOURMUSEUM.ORG. ALL RIGHTS RESERVED.