เอกสารภาษี

การปฏิวัติครั้งที่ 1
SHARE

ในช่วงเวลาดังกล่าว ชาวสยามยังเป็นแรงงานบังคับภายใต้ระบบไพร่ ไม่มีอิสระที่จะทำงานหรือหารายได้ด้วยตนเอง จึงมีการนำเอาแรงงานจากจีนเข้ามาแก้ปัญหาในส่วนนี้ โดยคนจีนที่อพยพเข้ามาทำงานในเมืองไทยหรือที่เรียกว่า “จีนนอก” และลูกหลานจีนนอกที่ไม่มีสังกัดมูลนายในระบบไพร่ ต้องถูกเกณฑ์แรงงานเช่นเดียวกับไพร่ ต่างกันตรงที่ไพร่ทั้งหลาย (ไม่ว่าจะเป็นคนไทย ลาว เขมร จีน) ต้องถูกเกณฑ์แรงงานทุกปี ส่วนการเกณฑ์แรงงานคนจีนมีทุก 3 ปี  ระยะเวลามากน้อยต่างกัน เช่น 1 หรือ 2 เดือน แล้วแต่ราชการจะกำหนด หากแต่คนจีนที่ไม่ต้องการถูกเกณฑ์แรงงานต้องเสียเงินแทนการเกณฑ์แรงงาน เป็นการเรียกเก็บเงินภาษีรายหัวที่เรียกว่า “ผูกปี้ข้อมือจีน“ แทน ซึ่งค่าผูกปี้จะตกอยู่ราวปีละ 2 บาท

คนจีนคนใดจ่ายเงินให้กับรัฐแล้วจะได้รับการผูกปี้ครั่งที่ข้อมือซ้าย ลักษณะเป็นปมเหลือชายไว้ประมาณ 1 นิ้ว แล้วใช้ครั่งลนไฟแล้วกดลงที่ปมเชือกเป็นก้อนกลม แล้วตามด้วยการประทับตราสำคัญของทางราชการ 2 ดวง คือ  “ตรานามเมือง” และ “ตรารูปสิ่งของหรือรูปสัตว์” ลงบนครั่งด้านละตรา ปี้ที่ผูกไว้นี้ใช้เป็นหลักฐานการเสียภาษีแทนการเกณฑ์แรงงานคนจีนที่อพยพเข้ามาทำงานในประเทศไทยสมัยก่อน อันเป็นสัญลักษณ์ว่ามีอิสระที่จะเดินทางไปไหนมาไหนหรือรับจ้างใด ๆ ได้ และจะตัดปี้ทิ้งได้ก็ต่อเมื่อพ้นช่วงเวลาของการเสียภาษี ในระหว่างนั้นหากคนจีนคนใดไม่มีปี้ผูกไว้ที่ข้อมือจะต้องเสียภาษีใหม่

คนจีนที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงงานและเสียภาษีผูกปี้คือ จีนขุนนาง เช่น เจ้าภาษี นายอากร และไพร่จีน ซึ่งหมายถึงลูกหลานคนจีนที่ขึ้นสังกัดกรมกองหรือมูลนายเป็นไพร่หลวง ไพร่สม หรือไพร่ส่วย การที่คนจีนอพยพไม่มีพันธะตามระบบไพร่นับเป็นเงื่อนไขสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้คนจีนอยู่ในภาวะลอยตัว สามารถเคลื่อนย้ายไปยังที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศได้สะดวก เปิดโอกาสให้คนจีนสามารถประกอบอาชีพค้าขายและเป็นแรงงานรับจ้างได้ในทุกพื้นที่ของประเทศ

การผูกปี้ มีข้อสันนิฐานว่าเกิดขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ 1) แต่มีหลักฐานที่เป็นเอกสารยืนยันได้อย่างชัดเจนว่าในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) มีการผูกปี้เกิดขึ้น และมีหลักฐานยืนยันว่าการผูกปี้ถูกยกเลิกไปในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)

ทุก “เสียง” มีความหมาย

เราทุกคนคือ “แรงงาน” ที่มีชีวิต ร่วมแชร์ประสบการณ์การทำงานที่คุณมี บางทีอาจมีหลายคนที่เจอประสบการณ์เดียวกัน

พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย

503/20 นิคมมักกะสัน ถนนมักกะสัน แขวง มักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400

วันเวลาทำการ

เปิดบริการทุกวันพุธ - อาทิตย์

เวลา 10:00 - 16:30 น​.

ช่องทางการติดต่อ

Tel : 02-251-3173

Email : tlm.thailabourmuseum@gmail.com

©2024 DEV.THAILABOURMUSEUM.ORG. ALL RIGHTS RESERVED.