เอกสารเกณฑ์ไพร่พล ไทย-มอญ

ก่อนการปฎิวัติ
SHARE

สังคมไทยแต่เดิมเป็นสังคมศักดินา คนส่วนใหญ่ในสังคมเป็นแรงงานบังคับที่เรียกกันว่าไพร่ และร้อยละ 80-90 จะเป็นไพร่ เมื่อเป็นเช่นนั้นชนชั้นไพร่จึงนับเป็นพื้นฐานของสังคม

ไพร่ คือ ราษฎรสามัญทั่วไป ทั้งชายและหญิงที่มิได้เป็นมูลนายและมิได้เป็นทาส มีศักดินา 10-25 (ไร่) ไพร่ทุกคนจะต้องลงทะเบียนขึ้นสังกัดกับมูลนาย อย่างไรก็ตาม ไพร่ชายและหญิงมีความแตกต่างกัน กล่าวคือ ไพร่ชายจะถูกเกณฑ์มาทำราชการโยธาตามกำหนดเวลาเป็นประจำ สำหรับไพร่หญิงส่วนใหญ่จะเพียงแต่นำมาขึ้นทะเบียนเป็นไพร่ มีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่ถูกเกณฑ์แรงงาน และงานที่ถูกเกณฑ์มาทำมักเป็นงานเบากว่างานของไพร่ชาย โดยปกติแล้วเมื่อเอ่ยคำว่า “ไพร่” มักหมายถึง “ไพร่ชาย”

คนไทยและชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ เช่น มอญ ลาว พม่า ต้องถูกสักข้อมือ (สักหมายหมู่) เป็นไพร่ถูกเกณฑ์แรงงานโดยมูลนาย การสักสักหมายหมู่จึงเป็นมาตรการที่เกิดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาไพร่หนี มาตรการนี้ได้เริ่มใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2316 ในสมัยธนบุรี และในปีต่อมา (พ.ศ. 2317) ได้มีการออกกฎหมายที่ระบุให้ไพร่ทุกคนต้องสักชื่อเมืองและชื่อมูลนายไว้ที่ข้อมือ เดิมหลักฐานที่บ่งชี้บอกว่าผู้ใดเป็นไพร่ส่วนใหญ่จะอยู่ที่บัญชีหางว่าว การสักสักหมายหมู่เป็นสิ่งที่บ่งบอกสถานะความเป็นไพร่ที่จะติดตามตัวไพร่ไปทุกหนทุกแห่ง ด้วยมาตรการนี้ทำให้ไพร่หลบหนีจากเมืองหนึ่งไปอยู่อีกเมืองหนึ่งได้ลำบากขึ้น ส่วนทางการก็สามารถติดตามไพร่ที่หนีสังกัดได้ง่ายขึ้น นอกจากนั้นกฎหมาย พ.ศ. 2317 มีการกำหนดโทษผู้ปลอมแปลงเหล็กสักหรือขโมยเหล็กสักของหลวงไปใช้ โดยกำหนดให้มีโทษประหารชีวิต (ทั้งโคตร) ในสมัยต่อมา สมัยรัตนโกสินทร์ก็ได้มีการรับเอามาตรการในเรื่องของการสักสักหมายหมู่เป็นแนวปฏิบัติสืบมา

ระบบการเกณฑ์แรงงานไพร่ ทาส ค่อยเสื่อมถอย คลี่คลายลงในช่วงต้นสมัยรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังการทำสนธิสัญญาเบาว์ริ่งเพื่อเปิดประเทศ การบังคับแรงงานถูกมองเป็นความป่าเถื่อนและถูกปฏิเสธ ซึ่งต่อมาก็ถูกยกเลิก (ทางนิตินัย) ไปในที่สุด ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้มีการออกพระราชบัญญัติเลิกทาสมีชื่อว่า “พระราชบัญญัติทาส ร.ศ. 124” โดยบังคับใช้เมื่อ วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2448

ทุก “เสียง” มีความหมาย

เราทุกคนคือ “แรงงาน” ที่มีชีวิต ร่วมแชร์ประสบการณ์การทำงานที่คุณมี บางทีอาจมีหลายคนที่เจอประสบการณ์เดียวกัน

พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย

503/20 นิคมมักกะสัน ถนนมักกะสัน แขวง มักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400

วันเวลาทำการ

เปิดบริการทุกวันพุธ - อาทิตย์

เวลา 10:00 - 16:30 น​.

ช่องทางการติดต่อ

Tel : 02-251-3173

Email : tlm.thailabourmuseum@gmail.com

©2024 DEV.THAILABOURMUSEUM.ORG. ALL RIGHTS RESERVED.