เอกสารเปิดประเทศกับอเมริกา

การปฏิวัติครั้งที่ 1
SHARE

พลเมืองของกรุงสยามตามกฎหมายจัดอยู่ในประเภทไพร่หรือข้าผู้รับใช้ของรัฐและจะถูกบังคับให้มีหน้าที่สละแรงงานให้แก่รัฐไม่ว่ารูปใดก็ได้เป็นระยะเวลา 3 เดือนทุกๆปี หากไม่สามารถเข้ามาประจำการได้จะต้องส่งเงินหรือสิ่งของเป็นส่วยแทนค่าแรง ซึ่งนับเป็นภาษีที่เป็นภาระหนัก” (บันทึกของจอห์น ครอว์เฟิร์ด)

ระบบเศรษฐกิจแบบพอยังชีพและระบบไพร่ที่ผู้คนยังต้องถูกบังคับไปทำงาน เพื่อส่งส่วยให้กับรัฐและเจ้าขุนมูลนาย ได้ทำให้ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมหรือการผลิตเพื่อการค้าพัฒนาเติบโตล่าช้าในประเทศไทย ขณะที่ซีกโลกตะวันตกมีการปฏิวัติอุตสาหกรรม และระบบทุนนิยมได้พัฒนาจนกลายเป็นแนวทางหลักของการดำเนินเศรษฐกิจไปแล้ว แต่ในช่วงเวลาดังกล่าวสยามยังอยู่ภายใต้ระบบศักดินา โดยมีระบบเศรษฐกิจที่เรียกว่า “เศรษฐกิจพอยังชีพ” ซึ่งมีชุมชนหมู่บ้านเป็นหน่วยการผลิตสำคัญ และกระจายอยู่ทั่วประเทศ ทำการผลิตทุกอย่างทั้งเกษตรกรรม กสิกรรมและหัตถกรรม เพื่อการกินใช้ภายในชุมชนเป็นสำคัญ เพราะหากมีผลผลิตส่วนเกินที่เหลือจากการบริโภคอาจถูกรัฐและเจ้าขุนมูลนายริบเอาเข้าเป็นของหลวงหรือเป็นของมูลนายเสียเอง 

ทุนนิยมและการจ้างงานในสยามถูกกระตุ้นจากการเปิดประเทศ และการเชื่อมต่อกับทุนนิยมโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังการทำสนธิสัญญาเบาว์ริ่งกับอังกฤษในปี พ.ศ.2398 ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเปิดประตูการค้ากับชาติตะวันตกซึ่งได้นำความเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงมาสู่สยามในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทางเศรษฐกิจ ระบบเศรษฐกิจดั้งเดิมที่เป็นการผลิตเพื่อการกินใช้ในชุมชนได้พัฒนาสู่การผลิตเพื่อการค้ามากขึ้น ระบบการค้าขายที่แต่เดิมเป็นระบบการค้าผูกขาดโดยรัฐได้ถูกเปลี่ยนไปเป็นการค้าเสรี มีการขยายตัวของการลงทุนในกิจการต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากชาวต่างชาติ อุตสาหกรรมที่มีการใช้เครื่องจักรสมัยใหม่เข้าช่วยในการผลิตและมีการจ้างงานแรงงานจำนวนมากได้ขยายตัวขึ้นในแบบที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน ทำให้เกิดการขยายตัวของแรงงานรับจ้างคือ “ผู้ที่ทำงานโดยได้รับค่าจ้างเป็นการตอบแทนไม่ใช่แรงงานบังคับในระบบไพร่-ทาสที่ทำงานโดยไม่ได้รับค่าจ้าง” อย่างที่เคยเป็นมาในสังคมไทยในช่วงเวลาก่อนหน้านั้น ซึ่งต่อมามีผลทำให้ระบบแรงงานบังคับไพร่-ทาสต้องเสื่อมสลายและถูกยกเลิกไปในที่สุด

ทุก “เสียง” มีความหมาย

เราทุกคนคือ “แรงงาน” ที่มีชีวิต ร่วมแชร์ประสบการณ์การทำงานที่คุณมี บางทีอาจมีหลายคนที่เจอประสบการณ์เดียวกัน

พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย

503/20 นิคมมักกะสัน ถนนมักกะสัน แขวง มักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400

วันเวลาทำการ

เปิดบริการทุกวันพุธ - อาทิตย์

เวลา 10:00 - 16:30 น​.

ช่องทางการติดต่อ

Tel : 02-251-3173

Email : tlm.thailabourmuseum@gmail.com

©2024 DEV.THAILABOURMUSEUM.ORG. ALL RIGHTS RESERVED.