แผ่นพับรณรงค์ลาคลอด 90 วัน

การปฏิวัติครั้งที่ 3
SHARE

ภายหลังจากองค์กรแรงงาน และกลุ่มสหภาพแรงงานต่าง ๆ ได้ออกมาเคลื่อนไหวอีกครั้ง และจัดตั้ง “คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิลาคลอด” ขึ้น โดยคณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิลาคลอดได้มีการทำแผ่นพับรณรงค์แก้ไขกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ให้ได้สิทธิลาคลอด 90 วัน โดยได้รับค่าจ้างเต็มจำนวนจากนายจ้าง เพื่อใช้ประกอบกิจกรรมการเรียกร้องจัดเวทีอภิปราย และผลักดันอย่างต่อเนื่อง เพื่อกดดันรัฐบาล ในท้ายที่สุดรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้น ได้มีการออกประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 13) วันที่ 28 เมษายน 2536 และได้มีการบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2536 โดยมีเนื้อหาให้ลูกจ้างหญิงมีสิทธิลาคลอดได้ 90 วัน และให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างไม่เกิน 45 วัน ส่วนค่าจ้างอีก 45 วัน ไปรับจากกองทุนประกันสังคม ด้วยเหตุผลจากกองสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยออกแถลงการณ์ว่า “สิทธิประโยชน์ควรได้รับจากระบบประกันสังคม ไม่ใช่จากนายจ้างเพียงฝ่ายเดียว” โดยจะดำเนินการแก้ไขกฎหมายประกันสังคมต่อไป ซึ่งพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2537 ได้ผ่านรัฐสภา และมีผลบังคับใช้ในปี 2538 ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันนานถึง 2 ปี

ทุก “เสียง” มีความหมาย

เราทุกคนคือ “แรงงาน” ที่มีชีวิต ร่วมแชร์ประสบการณ์การทำงานที่คุณมี บางทีอาจมีหลายคนที่เจอประสบการณ์เดียวกัน

พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย

503/20 นิคมมักกะสัน ถนนมักกะสัน แขวง มักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400

วันเวลาทำการ

เปิดบริการทุกวันพุธ - อาทิตย์

เวลา 10:00 - 16:30 น​.

ช่องทางการติดต่อ

Tel : 02-251-3173

Email : tlm.thailabourmuseum@gmail.com

©2024 DEV.THAILABOURMUSEUM.ORG. ALL RIGHTS RESERVED.